อปข่าวจากเว็บ ระวังละเมิดลิขสิทธิ์ไม่รู้ตัว!

ด้วยยุคนี้ผู้คนเชื่อมต่อกับโลกออนไลน์ได้สะดวกง่ายดาย หนึ่งในสิ่งที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสนใจก็คือข่าวสารที่เกิดขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่ข่าวสารต่างๆ นั้น สำนักข่าวออนไลน์เป็นผู้ผลิตขึ้น หากแต่เว็บไซต์ในเชิงพาณิชย์หรือที่เรียกกันว่าเว็บท่า มักคัดลอกเอาเนื้อหาข่าว บทความ และภาพประกอบของสำนักข่าวออนไลน์ไปนำเสนอ เพื่อใช้เป็นเนื้อหาดึงดูดความสนใจให้ผู้อ่านเข้ามาติดตาม…สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนใหญ่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์!

เมื่อ 25 มกราคมที่ผ่านมา สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์จัดเสวนาการละเมิดลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ ซึ่งนายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมายของสมาคมฯ ได้อธิบายปัญหาการคัดลอกเนื้อหาบนสื่อออนไลน์ที่เป็นการกระทำผิดกฎหมายใจความว่า

“กรณีการคัดลอกเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ คนทั่วไปอาจไม่รู้ว่า มีงานลิขสิทธิ์ที่กฎหมายคุ้มครองอยู่อย่างน้อย 4 อย่าง 1.งานวรรณกรรมต่างๆ ซึ่งก็คือข้อความต่างๆ ที่อยู่บนเว็บไซต์ เป็นงานเขียนซึ่งเราเองเป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริงมาแล้วเขียนเป็นข้อความต่างๆ ขึ้น 2.งานศิลปกรรม คือภาพถ่ายต่างๆ รวมถึงแผนผัง ดีไซน์ของเว็บไซต์ การประกอบภาพ การจัดลำดับภาพ รวมถึงตัวอักษร และสีต่างๆ ด้วย

3.ตัวเว็บไซต์ ถือเป็นงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่ง บางครั้งการคัดลอกงานของเว็บไซต์มักมีแอพพลิเคชันต่างๆ ติดมาด้วย ก็จะถือเป็นการละเมิดในส่วนของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และ 4.งานรวบรวม คือการที่เว็บไซต์นั้นนำเอาส่วนที่มีลิขสิทธิ์กับไม่มีลิขสิทธิ์ หรือนำเอางานที่ไม่มีลิขสิทธิ์กับไม่มีลิขสิทธิ์มารวมกัน ตรงนี้เรียกว่า งานรวบรวม หากเว็บไซต์อื่นคัดลอกไปก็ถือว่าละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน”

อย่างไรก็ตาม บางคนอาจเข้าใจว่า ข่าว เปรียบเสมือนข้อเท็จจริงประจำวันที่เกิดขึ้น ในทางกฎหมายถือว่าเป็นงานไม่มีลิขสิทธิ์ หากแต่เมื่อสำนักข่าวออนไลน์นำข้อเท็จจริงเหล่านั้นไปเขียน ผ่านการกลั่นกรองของ

สมอง ออกมาเป็นตัวเนื้อความ เป็นบทความ เป็นการเรียงลำดับ แบ่งย่อหน้า มีการใส่ภาพประกอบ จะถือว่ามีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย

เมื่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นผ่านการกลั่นกรองของสมองจนเกิดเป็นสิ่งที่มีลิขสิทธิ์ตามกฎหมายแล้ว นายไพบูลย์ชี้ว่า “เว็บท่าต่างๆ ที่จะคัดลอกไปใช้จำเป็นต้องขออนุญาตจากเจ้าของเนื้อหาเหล่านั้นก่อน”

หากแต่ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์บนสื่อออนไลน์ที่พบอยู่เป็นประจำ คือ การไม่ขออนุญาตเจ้าของก่อนนำข้อมูลไปใช้! เมื่อไม่มีการขอ นายไพบูลย์ย้ำว่า “ตามหลักทางกฎหมายจะนำเนื้อหาไปใช้ได้เพียงบางส่วน ทั้งยังต้องอ้างอิงแหล่งที่มา โดยควรทำไฮเปอร์ลิงค์หรือการเชื่อมต่อกลับไปยังที่มาของเนื้อหา และการนำไปใช้ต้องไม่ใช่เพื่อการแสวงหากำไรที่เป็นการกระทบกระเทือนต่อเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร”

ทั้งนี้ หากวิเคราะห์เหตุผลที่เว็บท่าต่างๆ คัดลอกเนื้อหาจากสำนักข่าวออนไลน์ไปใช้ประกอบเป็นส่วนหนึ่งของเว็บไซต์ตน ล้วนแต่มีผลเพิ่มยอดการเข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งในทางธุรกิจ เว็บท่าเหล่านั้นสามารถนำสถิติการเข้าชมเว็บไซต์ไปขายโฆษณาหรือแบนเนอร์เพื่อแสวงหาผลกำไรได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้จะคัดลอกเนื้อหาไปใช้เพียงบางส่วน และอ้างอิงแหล่งที่มาให้ ก็ยังเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ดี!

เพื่อลดและหยุดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ เว็บท่าน่าจะคิดสักนิดก่อนคัดลอกเนื้อหาไปใช้ สิ่งที่กระทำถ้าขัดหลักกฎหมายเจ้าของเนื้อหามีสิทธิ์ฟ้องร้องดำเนินคดีได้.

โดย : เดลินิวส์ออนไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า