เมื่อวันที่ 30 พ.ย.58 ที่ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ (SONP) โดยการสนับสนุนจาก SCG ได้จัดงานสัมมนาระดับภูมิภาค “News Website and the Impact from Social Media in Southeast Asia” เพื่ออัพเดทพัฒนาการของสื่อออนไลน์ในภูมิภาคอาเซียน ในมิติของเว็บข่าวและผลกระทบจากโซเชียลมีเดีย รวมทั้งวิธีจัดการช่องทางการนำเสนอข่าวในหลากหลายแพลตฟอร์ม และวิธีการจัดการข่าวลือในโซเชียลมีเดีย โดยในงาน ทางสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ได้เชิญ ผู้บริหารกองบรรณาธิการ และบรรณาธิการออนไลน์สื่อชั้นนำจากฟิลิปปินส์ กัมพูชา เวียดนาม พม่า ลาว มาเลเซีย อินโดนีเชียและ ไทย ซึ่งมีประเด็นสำคัญสรุปได้ดังนี้
1st Panel :การจัดการกองบรรณาธิการและการบริหาร Social Media ต่างๆ บนโลกออนไลน์(Newsroom Management & Multiplatform News Service in ASEAN)โดยวิทยากรจากประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย
1.คุณมาติกัส แซนโทส (Mr.MatikasRestituto Santos) Head of NewsLabEitorial Innovations teamPhilippine Daily Inquirer จากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า เปรียบเทียบผลกระทบของโซเชียลมีเดีย
เหมือนกับพายุที่บางครั้งสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรง แต่สามารถจบลงอย่างรวดเร็วได้ด้วย ในบางครั้งโพสต์เพียงโพสต์เดียวบน Twitter หรือ Facebook สามารถสร้างผลกระทบให้กับคนทั้งประเทศได้ หากเนื้อหานั้นได้รับความสนใจ เปรียบเสมือนกับ butterfly effectsสำหรับนักข่าวออนไลน์นั้น จะต้องสามารถวัดได้ว่าพายุจากโซเชียลมีเดียที่มานั้นจะมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้ขนาดไหน และควรที่จะต้องตอบสนองมันเมื่อไหร่ เพื่อเขียนข่าวให้ตอบสนองกับผู้อ่านได้ดีที่สุดทุกวันนี้ในประเทศฟิลิปปินส์นั้นมี Account ที่ลงทะเบียนใช้งานโซเชียลมีเดีย มากถึง 40 ล้าน Account และผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ผ่านทางมือถือกว่า 32 ล้านคน โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่นั้นเป็นผู้ใช้ที่มีอายุน้อย Traffic ส่วนใหญ่ที่มาที่เว็บไซด์นั้นมาจากโซเชียลมีเดีย และ Line
2.คุณสุธิดา มาไลยพันธุ์ (Ms.Suthida Maleipan) Executive Vice President -Digital Media,The Post Publishing Public Company Limited จากไทย ได้แสดงมุมมองว่า การจัด Newsroom ที่เหมาะสมกับองค์กร ต้องสัมพันธ์ไปกับต้นทุนและโอกาสเกิดรายได้ นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการจัดวางสอดคล้องกับการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆอันจะทำให้เกิดการประสานทำงานและเป้าหมายสูงสุดธุรกิจข่าวออนไลน์ที่เติบโตอย่างยั่งยืน
3.คุณฟิลิปุส ปาเรรา(Mr.Phillipus Parera) Managing Editor of Investigation Desk at Tempo From Tempo Daily Newspaper จาก อินโดนีเซีย และ นาย นาจมุดิน นาจิ๊ฟ (Mr.Najmuddin Najib) Digital Editor, New Straits Times จากมาเลเซีย เห็นตรงกันว่าการบริหารกองบรรณาธิการนั้นจะต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทั้งนี้ยังต้องมีการใช้ โซเชียลมีเดีย เพื่อช่วยเสริมในการดึง Traffic กลับเข้ามาที่เว็บไซต์
2nd Panel :การจัดการกับข่าวลือและผลกระทบของข่าวลือนั้นๆบน Social Media(Rumour in Social Media and Its Impact on Mainstream Media)โดยวิทยากรจากประเทศ เวียดนาม กัมพูชา พม่า และ ลาว
1.คุณ เล ทู เลือง(Ms.Le Thu Luong) Editor, The Vietnam Newspaper จากเวียดนามได้พูดถึงการเปลี่ยนแปลงในการค้นหาข้อมูลบนโลกออนไลน์ไว้ว่า ประชาชนหันมาหาข้อมูลบน social media มากกว่าการเข้าไปหาข้อมูลตามสื่อกระแสหลัก สื่อกระแสหลักขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนการให้ข้อมูลจากทางรัฐบาลที่แน่ชัด ทำให้ผู้สื่อข่าวนั้นไม่สามารถหาข้อมูบที่แท้จริงได้ ในบางครั้งทางรัฐบาลก็สร้างข่าวลือขึ้นมาเอง เพื่อทำให้ประชาชนสับสนว่าข้อมูลไหนคือข้อมูลที่แท้จริง ทั้งนี้เชื่อว่าการแก้ปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือของสื่อกระแสหลักควรจะมาจากความช่วยเหลือในการให้ข้อมูลจากทางรัฐบาล
2.คุณเลียง พันนารา(Mr.Leang Phannara) Web Editor,Phnom Penh Post จากกัมพูชา กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของการทำข่าวบนโลกออนไลน์ว่า การรายงานข่าวบนโลกออนไลน์นั้นได้เปลี่ยนจากการ รายการงานข่าวผ่านทางเว็ปไซด์มาเป็นการทำ live stream บน โซเชียลมีเดีย ทั้งนี้ โซเชียลมีเดีย ที่มีการใช้งานมากที่สุดในประเทศกัมพูชานั้นคือ Facebook โดยกว่า 70% ของ Traffic ที่เข้ามาที่เว็ปไซต์นั้นเข้ามาผ่านทาง Facebook ไม่ใช่เพียงสื่อกระแสหลักเท่านั้นที่หันมาจับ โซเชียลมีเดีย แต่ทว่าทางรัฐบาลเองก็เริ่มที่จะหันมาแถลงข่าวผ่านทาง โซเชียลมีเดีย ด้วยเช่นเดียวกัน
3.คุณโจว มิน ซุ่ย(Mr.Kyaw Min Swe) Editor in Chief of The Voice Daily & Secretary Of Myanmar Press Council (Interim) จากพม่าได้พูดถึงนิยามของคำว่า “สื่อกระแสหลัก” เนื่องจากว่าก่อนหน้านี้ทางสื่อกระแสหลักนั้นมักได้รับอิทธิพลจากทางรัฐบาล – ประชาชนจึงไม่มีความเชื่อถือในสื่อกระแสหลักอีกต่อไป ทั้งนี้ทางผู้สื่อข่าวเองก็มักจะใส่ความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปในเนื้อข่าวด้วย ผลกระทบหลักๆจากโซเชียลมีเดีย ที่มีต่อผู้สื่อข่าวคือการทำให้ผู้สื่อข่าวออกไปหาข่าวน้อยลง และหาข่าวจากโลกออนไลน์มากขึ้น ทุกวันนี้ประชาชนของพม่าหันมาอ่านข่าวผ่านทางโซเชียลมีเดียบนมือถือมากขึ้น และเริ่มที่จะเลิกอ่านหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้ทางพม่าเชื่อว่าการแก้ความเชื่อมั่นของสื่อกระแสหลักสามารถทำได้ โดยการจัดการฝึกอบรมผู้สื่อข่าวรุ่นใหม่ให้เข้าใจในเรื่องของจรรยาบรรณและหลักการการเขียนข่าวให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือในสื่อกระแสหลัก
4.คุณแก้วชมภู ศักดาวงศ์(Ms.Keoxomphou Sakdavong) Deputy Head of online Section,Vientiane Times Newspaper จากลาวได้พูดถึงผลกระทบจากการเติบโตของโซเชียลมีเดียไว้ว่าหลังจากที่โซเชียลมีเดียมีการเติบโตมากขึ้น ทำให้หลายๆองค์กรเริ่มหันไปลงทุนซื้อโฆษณาผ่านทางโซเชียลมีเดีย มากขึ้น จึงทำให้รายได้ของสื่อเองนั้นลดลง ทั้งนี้ทางลาวมีการแก้ปัญหานี้โดยการสร้างความน่าเชื่อ ถือให้กับองค์กร เพื่อสนับสนุนให้บริษัทต่างๆนั้นยังซื้อโฆษณาบนเว็บไซต์อยู่ นอกจากนี้ทางรัฐบาลเองยังได้มีการช่วยเหลือด้วยการออกกฏหมายให้บริษัทข้ามชาตินั้นต้องซื้อโฆษณาบนสื่อกระแสหลักด้วยการขายโฆษณาของสื่อกระแสหลักจึงเปลี่ยนไป เป็นการรวมทุก platform เข้าด้วยกันในการขายเป็น package เพื่อขายโฆษณาให้ได้มากขึ้น
ทั้งนี้สามารถติดตามรายละเอียดและดาวน์โหลดข้อมูลการสัมมนา รวมถึงภาพบรรยากาศได้ที่เว็บไซต์www.sonp.or.thและเฟซบุ๊กwww.fb.com/SONPThai
บรรยากาศงาน https://www.facebook.com/media/set/…
ดาวน์โหลดไฟล์ Presentation
Philippines Matikas Santos INQUIRER.net Social Media